แหวนพิรอดนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยนักรบมักไปสวมใส่ไปออกรบทำศึกสงครามด้วยโดยมีความเชื่อว่าหนังจะเหนียวแทงป้องกันศาสตราวุธต่างๆได้อีกทั้งยังสามารถป้องกันคุณไสยมนต์ดำต่างๆได้แม้แต่ภูติผีหรือเทวดาที่ฝ่ายศัตรูเรียกมาช่วยก็ทำอันตรายไม่ได้ เมื่อนักมวยสวมใส่ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของแหวนหรือที่รัดแขนฝ่ายตรงข้ามก็ต้องแพ้พ่าย นอกจากนนี้ยังหมายถึงคำว่า”รอด”ซึ่งแปลว่าจะสามารถรอดพ้นในภัยอันตรายทุกชนิดได้ เรามักจะพบแหวนพิรอดนี้ได้ในภาพยนตร์หลายๆเรื่อง เช่น ขุนพันธ์ ขุนแผน และ เจ้าแม่นาคี โดยขุนพันธ์ท่านจะใส่อยู่เป็นประจำแม้แต่ในรูปหล่อของท่านก็ยังใส่อยู่ (หลายคนอาจเคยเห็นฉากหยุดกระสุนปืนมาแล้ว ซึ่งจะมีคาถากำกับ เช่น มะอะอุฯ และ โอม ยาวะ พะกาสะตรีนิสิเหฯ)
สมัยนี้อาจารย์ที่มีไสยเวทย์อาคมปลุกเสกทางด้านนี้นั้นอาจจะไม่มีอยู่อีกแล้ว ทำให้แหวนพิรอดของแท้ๆที่มีอาคมแข็งกล้านั้นน่าจะเหลืออยู่น้อยมาก โดยในสมัยอยุธยายุคกรุงเก่านั้นพระเกจิอาจารย์ที่มีอาคมแกร่งกล้าที่สร้างของสิ่งนี้ได้นั้นก็จะมีหลวงพ่อม่วงวัดประดู่ธรรม เจ้าขรัวม่วงวัดประดู่ สืบทอดมาจนถึงหลวงพ่อกลั่นและสืบทอดต่อให้หลวงปู่ทองหล่อวัดโปรดสัตว์ ซึ่งแหวนพิรอดสายของขรัวม่วงนั้นถือว่าเป็นสายที่ขลังมากที่สุด โดยกรรมวิธีการสร้างนั้นถือว่ายากที่สุดเลยก็ว่าได้ใช้เวลาหลายเดือนและทำพิธีปลุกเสกอย่างต่อเนื่องมากกว่าเดือน แต่ถึงอย่างไรก็ตามในยุคปัจจุบันก็มีการสร้างแหวนพิรอดรุ่นแรก ณ วัดเขาอ้อ โดยอาจารย์เปลี่ยน หัทยานนท์ ในปี2557 ตามตำราดั้งเดิม
แหวนพิรอดนั้นทำจากวัสดุได้หลายอย่าง เช่น ผ้ายันต์ ด้าย ผ้าฝ้ายดิบ เส้นขนหางช้าง กระดาษว่าว เถาวัลย์ กัลปังหา ไม้ตะเคียน โลหะ มามัดเป็นเงื่อนพิรอด ลงรักปิดทองเพื่อป้องกันไม่ให้สึกกร่อนเร็ว
ทางร้านท้าวสยามของเรานั้นมีบริการรับ เลี่ยมทองแหวนพิรอด หรือ หุ้มทองนั้นเอง โดยทางร้านจะออกแบบดีไซน์ให้เข้ากับแหวนที่ลูกค้านำมาอีกทีเนื่องจากแหวนแต่ละวงนั้นจะมีรูปร่างที่แตกต่างกันและทำจากวัสดุที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งการเลี่ยมทองกับแหวนพิรอดที่ลงรักปิดทองนั้นมีความยากเอามากๆเนื่องจากในขั้นตอนการทำจะเกิดรอยขีดขวนได้ง่ายมากๆ ซึ่งเราก็ต้องนำเทปกันรอยมาพันก็เริ่มลงมือในทุกขั้น อีกทั้งการประกอบก็ห้ามเป่าไฟต้องใช้วิธีการเลเซอร์แทนเนื่องจากรักปิดทองที่ลงไว้อาจจะไหม้หรือละลายได้ (ถึงแม้ว่าในตำนานกล่าวไว้ว่าแหวนพิรอดที่มีความขลังกล้าจะต้องไม่ไหม้เมื่อโดนไฟ แต่ช่างทองอย่างเราๆก็ไม่กล้าเสี่ยงหรอก)