ตลับพระผงสุพรรณ

รูปที่1
รหัส : TP194
ตัวเรือน : น้ำหนักตลับตามชั่ง 16.24 กรัม (น้ำหนักรวมห่วงทอง)
เพชร : round brilliant (VVS1, น้ำ 97-98) (เม็ดละ 7 ตัง), จำนวน 39 เม็ด, น้ำหนักรวม 2.66 กะรัต

รูปที่2
รหัส : TP197
ตัวเรือน : น้ำหนักตลับตามชั่ง 16.62 กรัม (น้ำหนักรวมห่วงทอง)
เพชร : round brilliant (VVS1, น้ำ 97-98) (เม็ดละ 1 ตัง), จำนวน 4 เม็ด, น้ำหนักรวม 0.04 กะรัต
ขนาดองค์พระ : 28 x 17 mm

รูปที่3
รหัส : TP183
ตัวเรือน : น้ำหนักตลับตามชั่ง 19.3 กรัม (น้ำหนักรวมห่วงทอง)
เพชร : round brilliant (VVS1, น้ำ 97-98) จำนวน 12 เม็ด, น้ำหนักรวม 0.40 กะรัต
ขนาดองค์พระ : 29 x 18 mm หนา 7 mm

รหัสสินค้า: TP194-R หมวดหมู่:

พระผงสุพรรณตามประวัติแล้วนั้นขุดพบหรือที่เรียกว่ากรุแตกเมื่อปีพุทธศักราช 2456 ณ พระปรางค์ประธาน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี โดยในช่วงเวลานั้นพระยาสุนทรบุรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีในสมัยนั้นได้ทำการเปิดกรุและได้ถวายพระผงสุพรรณแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเหล้าเจ้าอยู่หัวและขุนนางใหญ่เก่าแก่

พระผงสุพรรณนั้นเป็นหนึ่งในชุดพระชุดเบญจภาคีที่มีความนิยมมาก องค์พระจัดอยู่ในกลุ่มองค์พระขนาดเล็ก มีความสูงและความกว้างประมาณ 3 x 2 เซนติเมตร มีรูปทรงสี่เหลี่ยมที่มีความกว้างไล่ระดับจากน้อยไปมากจนดูเหมือนเป็นทรงสามเหลี่ยมที่มีการตัดปลายยอดออก ลักษณะพิมพ์องค์พระประธานจะนั่งปางมารวิชัยประทับบนฐานชั้นเดียว ด้านหลังองค์พระจะมีลักษณะที่สำคัญคือจะมีลายนิ้วมือติดอยู่ด้วยทุกองค์ ในส่วนของพระพักตร์นั้นจะคล้ายมนุษย์ตามแบบศิลปะของช่างอู่ทอง ซึ่งจำแนกตามพิมพ์โดยจะมีอยู่ 3 พิมพ์หลักคือ พิมพ์หน้าแก่, พิมพ์หน้ากลาง และ พิมพ์หน้าหนุ่ม นอกจากนี้มวลสารที่ใช้ในองค์พระนั้นหลักๆจะเป็นเนื้อดินที่มีความละเอียดผสมกับว่านยาและเกสรไม้มงคลต่างๆนำมาผ่านกระบวนการต่างๆอย่างพิถีพิถันทั้งการกลั่นเอาเฉพาะน้ำว่านมาผสมและเผาด้วยความร้อนอย่างคงที่ทำให้เนื้อพระผงสุพรรณนั้นไม่เป็นโพรงและมีความแข็งแกร่งกว่าเนื้อดินแบบอื่นๆ ซึ่งสีนั้นจะมีตั้งแต่ สีแดง สีเทา สีผงธูป ไปจนถึงสีดำ นอกจากเนื้อดินแล้วก็จะมีอีกเนื้อนึงที่พบเห็นได้ซึ่งก็คือเนื้อชิน หรือที่ตามจารึกจะเรียกว่าแร่สังฆวานร

error: Thaosiam ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล
Scroll to Top